ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานนักเรียนของ นางสาว ชมพูนุช ฉัตรพุก ได้เลยค่ะ

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

สังคมมนุษย์

สังคมมนุษย์
ความหมายของสังคม
            สังคม  คือ กลุ่มคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป  อาศัยอยู่ร่วมกันในดินแดนแห่งใดแห่งหนึ่ง  เพื่อช่วยเหลือพึ่งพากันและตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตซึ่งกันและกัน  กลุ่มคนเหล่านี้มีความสัมพันธ์ต่อกันทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
สาเหตุที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม
            มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็น “สัตว์สังคม” เพราะมนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม  และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน  สรุปสาเหตุที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ดังนี้
            1. ความจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยกัน  มนุษย์มีช่วงเวลาเป็นวัยทารกและวัยเด็กซึ่งต้องพึ่งพาและเป็นภาระของพ่อแม่ยาวนานกว่าสัตว์อื่น  ๆ จึงทำให้มนุษย์มีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นระบบครอบครัว  และขยายความสัมพันธ์ต่อเพื่อนบ้าน  เพื่อนที่ทำงาน  และเป็นสังคมชุมชนในที่สุด
            2. ความจำเป็นต้องแบ่งงานกันทำตามความถนัด  เพื่อตอบสนอ่านเพิ่มเติม








วัฒนธรรม

วัฒนธรรม
          วัฒนธรรม มาจากคำว่า “Culture” ในภาษาอังกฤษ ซึ้งคำนี้มีรากศัพท์มาจาก “Cultura” ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกและบำรุงให้เจริญงอกงาม คำว่า วัฒนธรรมในภาษาไทย เป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ 2 คำ เข้าด้วยกัน คือ คำว่า วัฒนะหมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง และ คำว่า ธรรมหมายถึง การกระทำหรือข้อปฏิบัติ เมื่อรวมกันแล้ว วัฒนธรรมตามความหมายของคำในภาษาไทยจึงหมายถึงข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม

พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ได้ให้ความหมายว่อ่านเพิ่มเติม


การเป็นพลเมืองดีของชาติและสังคมโลก

การเป็นพลเมืองดีของชาติและสังคมโลก



1.การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม

2.การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคลอื่น

3.การมีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

4.การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก

5.การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง

6.การมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสิ่งแวดล้อม

7.การมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

แนวคิดหลัก  คุณลักษณะพลเมือ่านเพิ่มเติม




สิทธิมนุษยชน

     สิทธิมนุษยชน

              
              สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
                1.  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
                 2.  สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อ่านเพิ่มเติม






ระบอบประชาธิปไตย

ระบอบประชาธิปไตย


              คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรือบางทีก็เรียกกันว่า อำนาจของรัฐ (state power) เป็นอำนาจที่มาจากปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ

2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเพื่อไปใช้สิทธิใช้เสียงแทนตน เช่น การเลือก สส. หรือ สว. โดยมีกอ่านเพิ่มเติม




รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำอ่านเพิ่มเติม









กฎหมายในชีวิตประจำวัน

สังคมมนุษย์


             กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
             กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย

              กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอ่านเพิ่มเติม